วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การต่อวงจรของสวิตซ์ครับ

ภาพ  a แสดงสวิตซ์  p ปิด กระแสไฟฟ้าไหลจาก A ไปยัง B ได้
ภาพ  b แสดงสวิตซ์  p เปิด กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้
เมื่อกำหนดให้สวิตซ์เปิด แทนค่าความจริงเป็นจริง และสวิตซ์ปิด แทนค่าความจริงเป็นเท็จ ภาพ a แสดงการต่อวงจรแบบขนาน แทนวงจรนี้ด้วย p, q เพราะการไหลของกระแสไฟฟ้าจาก A ไปยัง B ตรงกับตารางค่าความจริงของประพจน์ p, q กล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้ในกรณีเดียวคือ สวิตซ์ p และ q ปิดพร้อมๆ กัน ภาพ b แสดงการต่อวงจรแบบอนุกรม แทนวงจรนี้ด้วย p ,q เพราะการไหลของกระแสไฟฟ้าจาก A ไปยัง B ตรงกับตารางค่าความจริงของประพจน์ p ,q กล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้ในกรณีเดียวคือ สวิตซ์ p และ q เปิดพร้อมกัน
ถ้า 2 สวิตซ์มีชื่อเหมือนกันหมายความว่าสวิตซ์ทั้งสองจะเปิดและปิดพร้อมๆ กัน
และหาก 2 สวิตซ์มีชื่อแตกต่างกันเพียงเครื่องหมาย ~ เช่น สวิตซ์ p และ ~p จะ หมายความว่าสวิตซ์ทั้งสองจะเปิดและปิดสลับกัน และจากที่กำหนดเงื่อนไขของการแทนการต่อวงจรด้วยประพจน์ ทำให้วงจรตามภาพ 3 สามารถเขียนแทนด้วยประพจน์ และโดยอาศัยความรู้ทางตรรกศาสตร์ทำให้ทราบว่าประพจน์ดังกล่าวสมมูลกับ ประพจน์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นวงจรได้

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับที่หาสาระดีๆอย่างงี้มา ผมสงสัยมานานแล้วว่ามันทำอะไรได้ขอบคุณจริงๆครับ

    ตอบลบ